โรงเรียนสามัคคีราษฎร์บำรุง ได้ปลูกสร้างขึ้นเมื่อ วันที่ 1
เมษายน พ.ศ.2494 ด้วยความริเริ่มของนายไสว กลับวงษ์
ครูใหญ่โรงเรียนประชาบาล
ตำบลคลองสาม (โรงเรียนวัดเกิดการอุดม)
และ นายเล็ก ศิริโต ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 พร้อมด้วยประชาชน ตำบลคลองสาม
เป็นผู้ร่วมแรงงาน
และทุนทรัพย์ ในการก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน
26,989.50 บาท
(สอบหมื่นหกพันเก้าร้อยแปดสิบเก้าบาทห้าสิบสตางค์) ได้ปลูกสร้างเป็นโรงเรียนเอกเทศ ชนิดถาวร
มีลักษณะเป็นรูปทรงเรือนปั้นหยา
ชั้นเดียว มีหน้ามุข
ขนาดกว้าง 5 เมตร 50
เซนติเมตร และยาว 15 เมตร
50 เซนติเมตร พื้นไม้ยาง
เสาไม้เต็ง ฝาไม้ยาง หลังคามุงด้วยกระเบื้อง
การก่อสร้างเริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2594 และเสร็จเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 การก่อสร้างครั้งนี้ได้รับความร่วมมือและแรงงานจากประชาชนตำบลคลองสาม
โดยไม่ได้คิดค่าแรงตอบแทน
โรงเรียนนี้ตั้งอยู่ในที่ดินของกองมรดก หม่อมราชวงศ์สุวพรรณ สนิทวงศ์
ณ อยุธยา ซึ่งอุทิศให้ปลูกสร้างโรงเรียนจำนวน 2
ไร่
แต่ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์มอบให้โรงเรียน
พิธีเปิดป้ายอาคารเรียน
ได้กระทำเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน
พ.ศ. 2494 เวลา 09.00
น. ตรงกับวันอังคารขึ้น 8 ค่ำ เดือน 7
ปีเถาะ โดยมีนายเปรม
พฤกษจร
นายอำเภอคลองหลวงมาเป็นประธานการทำพิธีเปิดป้ายอาคารเรียนโดยขนานนามโรงเรียนหลังนี้ว่าโรงเรียนสามัคคีราษฎร์บำรุงโดยเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมปีที่
1 ถึงชั้นประถมปีที่ 4 โดยนายไสว
กลับวงษ์ เป็นครูใหญ่
บุคคลที่เป็นผู้ริเริ่ม
ในการดำเนินการสร้างอาคารเรียนที่เข้มแข็งในการจัดหาอุปกรณ์
การก่อสร้างและเป็นผู้นำในการก่อสร้างโรงเรียนครั้งนี้ ได้แก่
นายไสว กลับวงษ์ นายเล็ก
ศิริโต นายญวน คงสุข นายผล
แขกซอง นายเชียง อ่อนเนตร
นายเชื้อ ไหวติง และประชาชนตำบลคลองสาม
ต่อมาในปี
พ.ศ.2499
ได้รับเงินประมาณต่อเติมอาคารเรียนเป็นจำนวนเงิน 6,875 บาท ได้ขยายห้องเรียนเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากห้องเรียนเดิมคับแคบไม่พอเพียง
ในปี พ.ศ.
2501 สภาผู้แทนราษฎร์ ปทุมธานี
ได้จัดสรรเงินอุดหนุน จำนวน 15,000
บาท
จึงได้ทำการรื้ออาคารเรียนหลังเดิมออก
และได้ปลูกสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่ตามแบบ ป.1 ซ.ขนาด 8×24
เมตร
เพราะอาคารเรียนคับแคบและชำรุดมากไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นอาคารเรียนอีกต่อไป อาคารเรียนที่ปลูกสร้างขึ้นใหม่นี้ยังค้างการก่อสร้างเนื่องจากขาดงบประมาณ
ในปี พ.ศ. 2506
ได้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนต่อเพื่อให้อาคารเรียนครบตามแบบ ป.1
ซ. ตามรูปเดิมจนเสร็จเป็นจำนวนเงิน 23,000 บาท และหม่อมราชวงษ์สุวพรรณ
สนิทวงษ์ ณ อยุธยา จึงได้มอบที่ดินเพิ่มอีก 4 ไร่ จึงรวมเป็นเนื้อที่ทั้งหมด 6
ไร่
แต่ยังมิได้โอนกรรมสิทธิ์ยกให้โรงเรียน
ในปี พ.ศ. 2516
เดือนพฤษภาคม นายญวน คงสุข
และประชาชน –
ครู ร่วมกันบริจาคทรัพย์
จัดสร้างศาลาท่าน้ำขึ้นที่หน้าโรงเรียนหนึ่งหลังรวมเงินในการก่อสร้าง 6,800 บาท
ในปี พ.ศ. 2516
เดือนสิงหาคม ทางราชการได้จัดสรรเงินภาษีบำรุงท้องที่
ตำบลคลองสาม จำนวน 3,500 บาท
จัดสร้างเสาธงเหล็กที่หน้าอาคาร
แบบ ป.1 ซ.
ในปี พ.ศ. 2517
เดือนกันยายน
ทางราชการได้จัดสรรเงินภาษีบำรุงท้องที่ ตำบลคลองสาม จำนวน
54,000 บาท จัดสร้างโรงอาหารมอบให้โรงเรียน 1 หลัง ขนาด 6×18
เมตร
ในปี พ.ศ. 2518 เดือนพฤษภาคม ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณ จำนวน 40,000
บาท
สร้างบ้านพักครูตามแบบขององค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 1 หลัง
และในปี พ.ศ. 2518
เดือนธันวาคม
ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณ 240,000
บาท (สองแสนสี่หมื่นบาทถ้วน) สร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ข
ใต้ถุนสูง 1 หลัง (เริ่มสร้างเดือนมกราคม พ.ศ.2519 เสร็จ
4 มิถุนายน
พ.ศ. 2519)
ในปี พ.ศ. 2519
ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณ
ตามโครงการผันเงินสู่ชนบท (พ.ป.ช) จำนวน
45,335 บาท จัดสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก หน้าอาคารเรียนทั้ง 2 หลัง ยาว
150 เมตร กว้าง 1.75
เมตร
(1 ก.ค. 2519 – 5
ส.ค. 2519)
ในปี พ.ศ. 2520 ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณ
เงินภาษีบำรุงท้องที่ เขตตำบลคลองสาม
จำนวน 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)
จัดสร้างส้วมตามแบบกรมสามัญ
ขนาดทั้ง 5 ห้อง (5 ที่นั่ง) และในปี พ.ศ. 2520 เดือนกันยายน
ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณ 60,000
บาท (หกหมื่นบาทถ้วน)
สร้างบ้านพักครูให้จำนวน 1 หลัง แบบองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ในปี พ.ศ. 2521
ทางสภา ตำบลคลองสามได้จัดสรรเงินภาษีบำรุงท้องที่ จำนวน 34,200 บาท (สามหมื่นสี่พันสองร้อยบาทถ้วน) จัดเทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กใต้ถุนอาคารเรียนแบบ
ป.1 ข ให้ทั้งหมด และได้จัดสรรเงิน 2,500
(สองพันห้าร้อยบาทถ้วน) ซื้อวิทยุเทปโตชิบามอบให้โรงเรียน เพื่อใช้ประกอบการเรียน และการสอน
จำนวน 1 เครื่อง
ในปี พ.ศ. 2522 ทางราชการได้จัดสรร จักรเย็บผ้า “อีเล็กต้า” หมายเลข
087892 มอบให้โรงเรียน 1 คัน
เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน
ในปี พ.ศ. 2523 (วันที่ 5 มีนาคม 2523) คณะกรรมการศึกษา
และประชาชน-คณะครู ได้พร้อมใจกันสละเงินซื้อเครื่องสูบน้ำ (ชนิดไฟฟ้า)
มอบให้ทางโรงเรียน จำนวน 1 เครื่อง ราคา
4,221.50 บาท
ในปี พ.ศ. 2524
วันที่ 18 กันยายน 2524
ทางสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอคลองหลวง
ได้จัดสรรเครื่องพิมพ์ดีด “อ๊อฟติมา” แคร่ยก
หมายเลขเครื่อง 444311
มอบให้ทางโรงเรียนเพื่อประโยชน์ทางราชการ จำนวน 1 เครื่อง
ในปี พ.ศ. 2525 อนามัยตำบลคลองสาม
ได้จัดสร้างศาลาพักร้อนทรงไทย ในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ขึ้น 1 หลัง
ในปี พ.ศ.2525
อนามัยตำบลคลองสาม ได้จัดสร้างถังเก็บน้ำฝน แบบ ฝ.5 มอบให้โรงเรียน
ในปี พ.ศ.2526 อนามัยตำบลคลองสาม ได้จัดสรรงบประมาณจัดสร้างถังเก็บน้ำฝนแบบ ฝ.
มอบให้โรงเรียน ( มีนาคม 2526 ) จำนวน
1 ที่
3 ถัง
ในปี พ.ศ.2527 (มกราคม ถึง พฤษภาคม) มีจิตรศรัทธา คือ
นายแฉล้ม และนางสมนึก แจ้งเหตุผล ได้บริจาคทรัพย์ส่วนตัวเป็นจำนวนเงิน 60,000
บาท (หกหมื่นบาทถ้วน) ต่อเติมใต้ถุนอาคารเรียนแบบ ป.1 ข.
โดยใช้อิฐบล็อกก่อสร้างเป็นห้องเรียน จำนวน 2 ห้องเรียน ขนาด 6×18
เมตร ได้ทำพิธีมอบให้ทางราชการเมื่อวันที่
27 มิถุนายน พ.ศ. 2527 โดยมี นายสมัย นุ่มสนธิ
หัวหน้าการประถมศึกษา
ในปี พ.ศ.2532 (ธันวาคม) นายแฉล้ม แจ้งเหตุผล
(พ่อหมอเทวดา) นางสมนึก แจ้งเหตุผล บริจาคทรัพย์ส่วนตัวสร้าง
1.
รั้วโรงเรียนก่ออิฐเสริมเหล็ก ประตูเหล็ก 2 ประตู ป้ายชื่อโรงเรียน แท่นพุทธ
แท่นพระบรมรูป ร. 9 มูลค่าประมาณ 200,000
บาท (สองแสนบาท)
2.
สร้างศาลาพักร้อนอเนกประสงค์บริเวณประตูต้นทิศเหนือของโรงเรียน มูลค่าประมาณ
15,000 บาท
(หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
3.
สร้างเสาธงใหม่ มูลค่าประมาณ
10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)
4.
ก่อสร้างต่อเติมห้องสมุดให้โรงเรียน 1 หลัง มูลค่าประมาณ
50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)
5.
เปลี่ยนห้องเรียนเก่า(เฉพาะหน้าต่าง)จากอิฐโปร่ง เป็นหน้าต่างบานเกล็ด
มูลค่าประมาณ 10,000 บาท
(หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)
6. สีทาอาคารเรียนใหม่ทั้งสอบหลัง มูลค่าประมาณ
10,000 บาท
(หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) รวมทั้งสิ้นประมาณ 245,000
บาท (สองแสนสี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน)
ในปีพ.ศ. 2535
นายแฉล้ม นางสมนึก แจ้งเหตุผล
พร้อมด้วยกรรมการศึกษา และประชาชนชนผู้มีจิตศรัทธา ร่วมกันสละทรัพย์ส่วนตัว สร้างอาคารเรียน แบบ สปช. 105/29 จำนวนหนึ่งหลัง 4 ห้องเรียน เป็นเงิน 2,500,000 บาท (สองล้านห้าแสนบาทถ้วน) โดยไม่ต้องของบประมาณจากทางราชการ
ในปี พ.ศ. 2536
สภาตำบลคลองสาม ได้จัดสรรเงินบำรุงท้องที่ของตำบลคลองสาม จัดสร้างถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 1
ที่ กว้าง 6 เมตร ยาว 8 เมตร
ในปี พ.ศ. 2550
ได้รับงบประมาณจัดสรรจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้สร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 2/28 ( 4 ชั้น ) 18 ห้องเรียน
ในปี พ.ศ. 2552
ได้รับงบประมาณจัดสรรจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้สร้างห้องส้วมแบบ สปช. 604/45 (4 ห้อง)
งบประมาณ 200,000 บาท
ในปี พ.ศ. 2555
ได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม สร้างโดมล์
บริเวณสนามหน้าเสาธง ภายใต้การบริหารงาน โดยนายจาตุรณต์ เจริญฉวีวรรณ
ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีราษฎร์บำรุง จนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันมีจำนวนห้องเรียนเรียนทั้งสิ้น 23 ห้อง และห้องเรียนเสริมต่าง 4 ห้อง แยกตามประเภท
ดังนี้
1. ห้องเรียนระดับชั้นอนุบาล 5
ห้อง
2. ห้องเรียนระดับชั้นประถมต้น 9 ห้อง
3. ห้องเรียนระดับประถมปลาย 9 ห้อง
4. ห้องสมุด 1 ห้อง
5. ห้องดนตรีไทย 1 ห้อง
6. ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 2 ห้อง
มีนักเรียนทั้งหมด 708 คน แบ่งเป็นระดับชั้นอนุบาล 133 คน
และระดับชั้นประถมศึกษา 575 คน |